เพื่อนร่วมชั้นเรียน

เทคโนโลยีบัญฑิต(ทล.บ.)

1.นายสุรพัศ  โคตุทา
2.นายวีระพงษ์  พลทองสถิตย์
3.นายศุภชัย  เหลืองงาม
4.นายอภิวัฒน์   ขันศรีนวล

จุดที่หนาวที่สุดในโลก

พบจุดหนาวสุดในโลกแห่งใหม่ติดลบ136องศา 10 ธันวาคม 2556 เวลา 15:24 น. |เปิดอ่าน 27,277 | ความคิดเห็น 0 0 0 ทั้งหมด + นักวิทยาศาสตร์ประกาศให้เทือกเขาสูงในแอนตาร์กติกา เป็นเขตพื้นที่หนาวที่สุดในโลกแห่งใหม่ ทีมนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ....... อ่านต่อได้ที่ : 

พบจุดหนาวสุดในโลกแห่งใหม่ติดลบ136องศา


ทีมนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ ในรัฐโคโลราโด เปิดเผยจุดที่หนาวที่สุดแห่งใหม่ในโลกออกมาแล้ว คือพื้นที่บริเวณเทือกเขาสูงในที่ราบแอนตาร์กติกาตะวันออก ซึ่งวัดอุณหภูมิได้ถึง –136....... องศาฟาเรนไฮต์ หรือ –93 องศาเซลเซียส จากบันทึกเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2010 โดยเอาชนะสถิติเดิมที่เคยได้ชื่อว่าเป็นจุดเยือกแข็งที่สุดในโลกที่สถานีวิจัยสภาพอากาศวอสต็อก ของรัสเซีย ในขั้วโลกใต้ ซึ่งวัดอุณหภูมิได้....... –128.6 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ –89.2 องศาเซลเซียส.... อ่านต่อได้ที่ : 
การค้นพบสถิติใหม่ของความหนาวเย็นสุดขั้วครั้งนี้ มีขึ้นระหว่างที่ทีมนักวิจัยกำลังค้นคว้าเรื่องอุณภูมิพื้นผิวโลกในรอบ 32 ปี ด้วยข้อมูลดาวเทียม “พวกเราสงสัยว่าพื้นที่บริเวณเทือกเขาสูงน่าจะหนาวเย็นสุดขั้วมากกว่าพื้นที่ราบ....... อ่านต่อได้ที่ 

จุดที่ร้อนที่สุดในโลก

มาดูกันดีกว่าว่า อันดับของประเทศที่ร้อนที่สุด (ที่คัดเลือกที่เด็ดๆ มาแล้ว) มาดูกันว่าจะมีที่ไหนบ้าง และร้อนแค่ไหนกันเชียว...


5. เม็กซิโก

    เม็กซิโกเป็นอีกประเทศที่ติดอันดับประเทศที่ร้อนที่สุดในโลกด้วยอุณหภูมิในหน้าร้อนสุดโหดที่ประมาณ 50 องศาเซลเซียส และ 50 ที่ว่านี่ก็เป็นอุณหภูมิเฉลี่ยปกติของหน้าร้อนที่นี่ด้วยนะคะ ฟังดูโหดจัง (แต่ไทยเราก็แอบใกล้แล้วนะ 555) แต่ในขณะเดียวกันในช่วงที่ไม่ได้ร้อนสุดๆ เม็กซิโกก็ขึ้นชื่อในเรื่องชายหาดและทะเลที่น่าเที่ยวที่หนึ่งในทวีปอเมริกาเหนือ และนักท่องเที่ยวก็เลือกที่จะมาเที่ยว ติดอยู่ในอันดับต้นๆ ของแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตเลยค่ะ
เดือนที่ร้อนที่สุด : เฉลี่ยรวมจะอยู่ที่เดือนมิถุนายนจนถึงเดือนกันยายน และพื้นที่ที่ร้อนที่สุดก็คือที่ทะเลทราย Sonoran ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ อุณหภูมิ 50 องศาขึ้นไปค่ะ

4. อินเดีย

    อินเดียเป็นประเทศที่มีประชากรเยอะเป็นอันดับ ในเอเชีย (รองลงมาจากจีนเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าอินเดียร้อนมากๆ และมีความสุดขั้วในเรื่องสภาพอากาศด้วย จะเห็นได้จากเทือกเขาหิมาลัยชื่อดังที่มีอุณหภูมิหนาวสุดๆ ในหน้าหนาวประมาณ -40 องศาเซลเซียส นอกจากนั้นยังมีทะเลทรายธาร์ที่เป็นทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและมีความร้อนสุดๆ หน้าร้อนในอินเดียอุณหภูมิอาจสูงถึง 50 องศาเซลเซียส และเป็นเรื่องที่น่าเศร้าเมื่อปี 2015 มีรายงานว่าประเทศอินเดียมีผู้เสียชีวิตจากความร้อนราว 539 คนเลยค่ะ
เดือนที่ร้อนที่สุด เฉลี่ยรวมจะอยู่ที่เดือนมีนาคมถึงมิถุนายน 

3. โอมาน

    ประเทศโอมานเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และมีฉายาว่าเปนประเทศที่รวยที่สุดในโลก แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ร้อนที่สุดในโลกเหมือนกันด้วยความที่ประเทศมีลักษณะเป็นเขตกึ่งทะเลทรายที่แห้งแล้งด้วยอุณหภูมิความร้อนระอุที่ 50 - 53 องศาเซลเซียส ที่ไม่น่าจะมีใครทนไหวกัน โดยความร้อนระดับ 50 องศากว่าๆ แบบนี้จะอยู่กับชาวโอมานประมาณ 5 - 6 เดือนต่อปีกันเลยทีเดียว งานนี้ต้องขอขอบคุณความรวยของของประเทศที่อย่างน้อยก็ทำให้ทุกที่ติดแอร์กันอย่างทั่วถึง ช่วยดับร้อนไปได้ระดับหนึ่งค่ะ
เดือนที่ร้อนที่สุด : หน้าร้อนของโอมานจะเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนยาวจนไปถึงเดือนตุลาคม 

2. อิรัก

    นอกจากเรื่องสงครามแล้ว อิรักยังต้องประสบกับปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่เลี่ยงไม่ได้คืออากาศที่ร้อนจัดในหน้าร้อนด้วยอุณหภูมิประมาณ 48 องศาเซลเซียส และสามารถขึ้นไปถึง 54 เซลเซียสได้ในบางวัน... ถึงแม้ว่าในแถบภาคเหนือของอิรักจะมีภูเขาสูงๆ และหิมะตกในหน้าหนาวก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรในหน้าร้อนได้เลย...
เดือนที่ร้อนที่สุด เฉลี่ยอยู่ที่เดือนเมษายนถึงตุลาคม ถือว่าเป็นหน้าร้อนที่ยาวนานมากค่ะ 

1. ลิเบีย

    ลิเบียติดอันดับสูงสุดของประเทศที่ร้อนที่สุดในโลกและมีทะเลทรายซาฮาร่าอยู่ในเขตพื้นที่ของประเทศ ลิเบียมีอุณภูมิที่ร้อนสุดๆ ตลอดปี เคยมีสถิติถึง 57.8 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าเป็นอุณหภูมิที่สูงเกินไป อาจเป็นเพราะพื้นที่เกือบทั้งหมดของประเทศเป็นทะเลทรายซึ่งแห้งและร้อนจัด อากาศร้อนอบอ้าวและชื้นตลอดปีและทุกฤดู ประชากรในประเทศประสบปัญหาเรื่องผิวไหม้และใช้ชีวิตอย่างยากลำบากจากความร้อนจัด
เดือนที่ร้อนที่สุด : เฉลี่ยอยู่ที่เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม และพื้นที่ที่ร้อนที่สุดในประเทศอยู่ที่เมือง อัล อาซีซียาห์ทางตะวันตกเฉียงใต้ โดยสถิติที่ร้อนที่สุดคืออุณหภูมิ 57.8 องศาเซลเซียสค่ะ
    ความจริงยังมีอีกหลายประเทศที่ร่วมชะตากรรมร้อนไปกับเรา แต่ที่ยกตัวอย่างมาให้ดูนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจและน่าทึ่ง หน้าร้อนนี้อากาศร้อนจัดจริงๆ ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าออกจากบ้านหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งมากนะคะ อย่าลืมดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ เพราะอากาศร้อนมากๆ ร่างกายก็สูญเสียน้ำเยอะค่ะ









อุณหภูมิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุณหภูมิของก๊าซอุดมคติอะตอมเดี่ยวสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยพลังงานจลน์ของอะตอม
อุณหภูมิ คือการวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ของอนุภาคในสสารใดๆ ซึ่งสอดคล้องกับความร้อนหรือเย็นของสสารนั้น
ในอดีตมีแนวคิดเกี่ยวกับอุณหภูมิเกิดขึ้นเป็น 2 แนวทาง คือตามแนวทางของหลักอุณหพลศาสตร์ และตามกาประเทศไทย

บายเชิงจุลภาคทางฟิสิกส์เชิงสถิติ อุณหพลศาสตร์นั้นเกี่ยวข้องกับการวัดในเชิงมหภาค ดังนั้นคำจำกัดความอุณหภูมิในเชิงอุณหพลศาสตร์ในเบื้องแรก ซึ่งกำหนดขึ้นโดยลอร์ดเคลวิน จึงระบุเกี่ยวกับค่าตัวแปรต่างๆ ที่สามารถตรวจวัดได้จากการสังเกต ส่วนฟิสิกส์สถิติจะให้ความเข้าใจในเชิงลึกยิ่งกว่าอุณหพลศาสตร์ โดยอธิบายถึงการสะสมจำนวนอนุภาคขนาดใหญ่ และตีความพารามิเตอร์ต่างๆ ในอุณหพลศาสตร์ (เชิงมหภาค) ในฐานะค่าเฉลี่ยทางสถิติของพารามิเตอร์ของอนุภาคในเชิงจุลภาค
ในการศึกษาฟิสิกส์เชิงสถิติ สามารถตีความคำนิยามอุณหภูมิในอุณหพลศาสตร์ว่า เป็นการวัดพลังงานเฉลี่ยของอนุภาคในแต่ละองศาอิสระในระบบอุณหพลศาสตร์ โดยที่อุณหภูมินั้นสามารถมองเป็นคุณสมบัติเชิงสถิติ ดังนั้นระบบจึงต้องประกอบด้วยปริมาณอนุภาคจำนวนมากเพื่อจะสามารถบ่งบอกค่าอุณหภูมิอันมีความหมายที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ในของแข็ง พลังงานนี้พบในการสั่นไหวของอะตอมของสสารในสภาวะสมดุล ในแก๊สอุดมคติ พลังงานนี้พบในการเคลื่อนไหวไปมาของอนุภาคโมเลกุลของแก๊ส

ความร้อน และ อุณหภูมิ[แก้]

          สสารทั้งหลายประกอบด้วย อะตอมรวมตัวกันเป็นโมเลกุล การเคลื่อนที่ของอะตอม หรือการสั่นของโมเลกุล ทำให้เกิดรูปแบบของพลังงานจลน์ ซึ่งเรียกว่า “ความร้อน” (Heat) เราพิจารณาพลังงานความร้อน (Heat energy) จากพลังงานทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของอะตอมหรือโมเลกุลทั้งหมดของสสาร 
          อุณหภูมิ (Temperature) หมายถึง การวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ซึ่งเกิดขึ้นจากอะตอมแต่ละตัว หรือแต่ละโมเลกุลของสสาร เมื่อเราใส่พลังงานความร้อนให้กับสสาร อะตอมของมันจะเคลื่อนที่เร็วขึ้น ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น แต่เมื่อเราลดพลังงานความร้อน อะตอมของสสารจะเคลื่อนที่ช้าลง ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง 
          หากเราต้มน้ำด้วยถ้วยและหม้อบนเตาเดียวกัน จะเห็นได้ว่าน้ำในถ้วยจะมีอุณหภูมิสูงกว่า แต่จะมีพลังงานความร้อนน้อยกว่าในหม้อ เนื่องจากปริมาณความร้อนขึ้นอยู่กับมวลทั้งหมดของสสาร แต่อุณหภูมิเป็นเพียงค่าเฉลี่ยของพลังงานในแต่ละอะตอม ดังนั้นบรรยากาศชั้นบนของโลก (ชั้นเทอร์โมสเฟียร์) จึงมีอุณหภูมิสูง แต่มีพลังงานความร้อนน้อย เนื่องจากมีมวลอากาศอยู่อย่างเบาบาง
สเกลอุณหภูมิ
           องศาฟาเรนไฮต
            ในปี ค.ศ.1714 กาเบรียล ฟาเรนไฮต์ (Gabrial Fahrenheit) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เทอร์มอมิเตอร์ซึ่งบรรจุปรอทไว้ในหลอดแก้ว เขาพยายามทำให้ปรอทลดต่ำสุด (0°F) โดยใช้น้ำแข็งและเกลือผสมน้ำ เขาพิจารณาจุดหลอมละลายของน้ำแข็งเท่ากับ 32°F และจุดเดือดของน้ำเท่ากับ 212°F
           องศาเซลเซียส
            ในปี ค.ศ.1742 แอนเดอส์ เซลเซียส (Anders Celsius) นักดาราศาสตร์ชาวสวีเดน ได้ออกแบบสเกลเทอร์มอมิเตอร์ให้อ่านได้ง่ายขึ้น โดยมีจุดหลอมละลายของน้ำแข็งเท่ากับ 0°C และจุดเดือดของน้ำเท่ากับ 100°C
           เคลวิน (องศาสัมบูรณ์) 
            ต่อมาในคริสศตวรรษที่ 19 ลอร์ด เคลวิน (Lord Kelvin) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ผู้ค้นพบความ
สัมพันธ์ระหว่างความร้อนและอุณหภูมิว่า ณ อุณหภูมิ -273°C อะตอมของสสารจะไม่มีการเคลื่อนที่ และ
จะไม่มีสิ่งใดหนาวเย็นไปกว่านี้ได้อีก เขาจึงกำหนดให้ 0 K = -273°C (ไม่ต้องใช้เครื่องหมาย ° กำกับ
หน้าอักษร K) สเกลองศาสัมบูรณ์หรือเคลวิน เช่นเดียวกับองศาเซลเซียสทุกประการ เพียงแต่ +273 
เข้าไปเมื่อต้องการเปลี่ยนเคลวินเป็นเซลเซียส








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Ph chart

ไซโครเมตริก